เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

คณะพยาบาลศาสตร์ สนับสนุนการทำวิจัยของคณาจารย์ บุคลากร และพัฒนางานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการสนับสนุนทุนวิจัยด้านการตีพิมพ์ เผยแพร่ นำเสนอผลงานวิจัย ทั้งในและต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2543 จัดตั้งศูนย์วิจัยทางการพยาบาล ซึ่งดำเนินงานในการจัดเสวนาวิจัย การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยทางการพยาบาลประจำปี การจัดทำหนังสือรวมบทคัดย่อ และทำเนียบโครงการวิจัย เป็นที่ปรึกษางานวิจัย ตลอดจนดำเนินงานด้านแหล่งทุนวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก China Medical Board of New York

วิสัยทัศน์

คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำในระดับสากล ในด้านคุณภาพบัณฑิตด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการแก่สังคม มีการบริหารจัดการที่ดี โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำในระดับสากล ในด้านคุณภาพบัณฑิตด้านการวิจัย ด้านบริการวิชาการแก่สังคม มีการบริหารจัดการที่ดี โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์

พัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศและสากล

เป้าประสงค์

ผลงานวิจัยของคณะพยาบาลศาสตร์ มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล

กลยุทธ์

  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพอาจารย์/บุคลากรในการดำเนินการวิจัย/งานสร้างสรรค์ แสวงหาความร่วมมือและแหล่งทุนจากหน่วยงานและองค์การต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติเชิงรุก
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาโครงร่างการวิจัย/งานสร้างสรรค์ เพื่อขอรับการสนับสนุนตาม research mapping ของคณะฯ และหน่วยงานภายนอก
  3. สนับสนุนการจัดทำบทความงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ จัดหาแนวทางการจัดทำบทความการวิจัยของวารสารต่างๆ และการนำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ
  4. สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการขอรับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์
  5. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
  6. สนับสนุนการไปนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

นโยบายการวิจัย

มาตรการ
  1. พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่อาจารย์ประจำอย่างเป็นรูปธรรม ให้ทำการวิจัยให้เป็นไปตามนโยบายของคณะฯ
  2. กำหนดผังพิสัยงานวิจัย (research mapping) ของคณะฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และประเทศ
เป้าหมาย
  1. มีผังพิสัยงานวิจัยตามนโยบายของคณะฯ และมีการปรับปรุงทุก 5 ปี
  2. มีแผนพัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์ประจำทุกปี
  3. ได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์จากแหล่งทุนภายในและภายนอกสถาบันโดยเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับ 80,000 บาท ต่ออาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานต่อปี
  4. มีอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากแหล่งทุนภายในสถาบันมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 ของจำนวนอาจารย์ประจำต่อปี
  5. มีอาจารย์ประจำที่ได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบันมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 ของจำนวนอาจารย์ประจำต่อปี
  6. มีงานวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ
  7. มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนปีละ 8 เรื่อง และเพิ่มขึ้นปีละ 1 เรื่อง

มาตรการ
  1. ประสานงานกับฝ่ายบัณฑิตศึกษาในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่นักศึกษา
  2. คณะฯ มีการกำหนดแนวปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในการวิจัยของนักศึกษา ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
  3. ประสานงานระหว่างอาจารย์ที่มีโครงการวิจัยกับนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ
  4. ประสานงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยของอาจารย์กับนักศึกษาที่สอดคล้องกับผังพิสัยของคณะฯ
เป้าหมาย
  1. คณะฯ มีแนวปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในการวิจัยระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
  2. มีโครงการวิจัยร่วมของอาจารย์และนักศึกษาที่สอดคล้องกับผังพิสัยงานวิจัยของคณะฯ ต่อจำนวนโครงการวิจัยของคณะฯ ร้อยละ 10

มาตรการ
  1. ทุกหลักสูตรมีการนำผลการวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน
  2. สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
  3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
เป้าหมาย
  1. ประสานงานกับอนุกรรมการการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  2. มีงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ปีละ 8 เรื่อง และเพิ่มขึ้นปีละ 2 เรื่อง

มาตรการ
  1. สนับสนุนทุนให้อาจารย์ประจำไปเผยแพร่ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  2. จัดทำและเผยแพร่แหล่งข้อมูลวารสารที่มีอยู่ในฐาน สกอ. หรือวารสารที่มี impact factor
  3. สนับสนุนทุนในการจัดทำ manuscript และการตีพิมพ์
  4. สนับสนุนให้นำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรืออนุสิทธิบัตร
เป้าหมาย
  1. มีการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ปีละ 1 ครั้ง
  2. ร่วมประสานงานการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ทุก 4 ปี
  3. คณะมีทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมที่มีการจัดทำ proceeding ในประเทศ อย่างน้อยปีละ 5 ทุน และต่างประเทศอย่างน้อยปีละ 5 ทุน ในกรณีไม่มีการตีพิมพ์ใน proceeding จะต้องมีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร หลังการนำเสนอภายใน 1 ปี
  4. มีงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรืออนุสิทธิบัตรปีละ 1 เรื่อง
  5. ร้อยละ 60 ของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรือนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ทุกปี
  6. ร้อยละ 20 ของบทความวิจัย/งานวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ได้รับการอ้างอิง (Citation) ใน refereed journal หรือในฐานข้อมูลระดับชาติหรือนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ

มาตรการ
  1. ประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยร่วมสาขาและระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
  2. สนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรในการทำวิจัยร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
  3. จัดทำและเผยแพร่ทะเบียนนักวิจัยของคณะฯ
เป้าหมาย
  1. มีโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันทั้งใน และต่างประเทศอย่างน้อย ปีละ 2 โครงการ
  2. มีอาจารย์ได้ไปพัฒนาโครงการวิจัยในต่างประเทศอย่างน้อย ปีละ 1 คน
  3. มีศูนย์รวมของทรัพยากรในการทำวิจัยที่นักวิจัยสามารถใช้ร่วมกันได้
  4. มีฐานข้อมูลทะเบียนนักวิจัยของคณะฯ

มาตรการ
  1. ประสานงานกับฝ่ายสารสนเทศและเทคโนโลยีพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลการวิจัยของคณะฯ
เป้าหมาย
  1. มีระบบเครือข่ายข้อมูลและสารสนเทศทางการวิจัยที่ทันสมัย

มาตรการ
  1. พัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยแก่บุคลากรให้สามารถทำวิจัยได้
  2. สนับสนุนการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน
  3. สนับสนุนให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
เป้าหมาย
  1. มีแผนพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรทุกปี
  2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  3. มีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงาน ปีละ 1 เรื่อง